วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้เกี่ยวกับป่าไม้


   ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป
   นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้ น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธาร ทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า

                                                           


 ประเภทป่าไม้
   ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถ
จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ก. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ข. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
    ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
 1. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)
   ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น
ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้
  1.1 ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)
   เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญก็คือ
ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย
  1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
   เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร
ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ
สวนปาล์ม 1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ไม้ส่วนมากเป็นพวก Gymonosperm ได้แก่
พวกไม้ขุนและสนสามพันปี นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่ พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมาได้แก่ เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
 2. ป่าสนเขา (Pine Forest)
   ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ
และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น
 3. ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
   บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม" หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ
ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน
แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น
 4. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
   ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ
หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน
เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด"
อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากชนิดขึ้นปะปนกัน
ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำภันเกรา โงงงันกะทั่งหัน ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ
เห็ดกระโปรงนางฟ้า
 5. ป่าชายหาด (Beach Forest)
   เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้
เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอใบหนาแข็ง ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา
มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น

ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)
   ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น
และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
 1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)
   ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือมัก
จะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย
พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง
ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น
 2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)
   หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบ
และที่ภูเขา ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้
ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก
ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ
 3. ป่าหญ้า (Savannas Forest)
   ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย
พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้ำได้ดีก็มักจะพบพง
และแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือง ติ้วและแต้ว

          
                                                                                         


 ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
    ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่

ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
   ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
 1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
 2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
 3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
 4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ

ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
 1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ
ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
 2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง
ไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
 3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวม
ของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
 4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้
บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
 5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

                                                                        
                                                                                                                                                                                        

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย
 1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
   ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์
จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด
ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น
 2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน
   เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า
หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
 3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก
   เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
 4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่
   ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านใน
เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
 5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ
   เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็ก
หรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณ
ป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
 6. ไฟไหม้ป่า
   มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้
เป็นจำนวนมาก
 7. การทำเหมืองแร่
   แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลง
เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า

                      


การอนุรักษ์ป่าไม้  
  ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์อย่างมากมายกับคนเรา การจะอนุรักษ์ป่าไม้ให้คงอยู่อำนวยประโยชน์ ให้กับเราตลอดได้นั้น เราทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษา 
และใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด
   ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้กำลังถูกทำลายลงเรื่อย ๆ  และอาจจะหมดลงได้ในไม่ช้านี้ หากจะให้ทาง ราชการดำเนินการอนุรักษ์เพียงฝ่ายเดียวคงไม่ได้ผลเพียงพอ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ช่วยกันรักษาป่าไม้ในท้องถิ่นของตนเอง
เราสามารถช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ได้ ดังนี้ 
 


1. ช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ในท้องที่ 
                       
ต้องช่วยกันดูแลรักษาป่าในท้องถิ่นที่ยังเหลืออยู่มิให้ถูกทำลายเพิ่มด้วยการ
                         1.1 ไม่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเสียเอง
                     
1.2 ไม่บุกรุกแผ้วถาง ยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าไม
                         1.3 ใช้ไม้อย่างประหยัดและให้คุ้มค่าที่สุด

   
ต้นไม้ 1 ต้น ควรใช้ให้เกิดประโยชน์ทุกส่วน เช่น  ใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ สมุนไพร หรือ ทำปุ๋ยหมัก  กิ่ง ก้านขนาดเล็ก ใช้ทำด้ามเครื่องมือ เสาค้ำยัน เสารั้วบ้าน อุปกรณ์การเกษตรต่าง    ลำต้น แปรรูปทำเสาบ้าน ไม้ฟื้น คาน ตง ใช้ในการก่อสร้างต่าง  ตอและราก ใช้ทำฟืน ถ่าน เฟอร์นิเจอร์บางอย่าง เป็นต้น

                      
1.4 ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการป้องกันรักษาป่า เช่น
                             
1) แจ้งข่าวการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
                            
2)สอดส่องพฤติกรรมของนายทุน ผู้มีอิทธิพล หรือมีส่วนสนับสนุนการบุกรุกทำลายป่าในท้องถิ่นของตนเอง

                     
1.5 เข้าฟังการประชุม ชี้แจง บรรยายความรู้ หรือการฝึกอบรมด้านป้องกันรักษาป่าตามโอกาสอันควร

            2. ช่วยกันปลูกต้นไม้
                        
โปรดช่วยกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาทดแทนต้นไม้ที่ถูกทำลายไปให้มากที่สุด และเร็วที่สุดเท่าที่ จะทำได้ เราทุกคนสามารถช่วยปลูกต้นไม้ได้ดังนี้
                  
2.1 สนับสนุนการปลูกสวนป่าของทางราชการ ด้วยการ
                      
2.1.1 ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าซึ่งทางราชการจะทำการปลูกสวนป่า
                          2.1.2 ไม่ขัดขวางการปลูกสวนป่าของทางราชการ เช่น ทำลายกล้าไม้ ทำลายแปลงเพาะชำกล้าไม้ ตัดต้นไม้ในสวนป่า เผาสวนป่า และทำลายวัสดุอุปกรณ์ของสวนป่า
                    
2.1.3 ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปลูกป่าทุกหน่วยงาน ได้แก่ สวนป่า,โครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ และหน่วยปรับปรุงต้นน้ำทุกแห่งด้วยกัน
                               
1. แจ้งข่าว หรือสอดส่องพฤติกรรมของผู้บุกรุกทำลายสวนป่า
                              
2. ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปลูกสวนป่า เช่น สภาพดิน ฟ้า อากาศในท้องถิ่น สภาพพื้นที่ ความต้องการใช้ไม้ของชาวบ้าน แหล่งแรงงาน แหล่งแม่ไม้ และแหล่งเมล็ดไม้ เป็นต้น เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ใช้ประกอบการวางแผนการปลูกสร้างสวนป่า
                  
2.2 ช่วยกันปลูกต้นไม้ในท้องถิ่น
                             2.2.1 เป็นผู้นำปลูกต้นไม้ทุกโอกาส

  
โอกาสสำคัญที่ควรปลูกต้นไม้ ได้แก่ วันสำคัญทางป่าไม้ เช่น วันต้นไม้ ประจำปี  (วันวิสาขบูชา)  
วันรักต้นไม้ (21 ตุลาคม) วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ (14 มกราคม) วันสำคัญของทางราชการ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหามหาราชินี เป็นต้น
  
สถานที่ปลูกต้นไม้ เช่น บริเวณวัด โรงเรียน สองข้างทาง สถานที่ ราชการ ริมสระน้ำ ที่หัวไร่ปลายนา ที่ว่างรอบ  บ้าน และที่สาธารณะทั่วไป เป็นต้น
 
                     
2.2.2 ช่วยกันดูแล บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกให้เจริญเติบโต และช่วยปลูกซ่อม ต้นไม้ที่ตาย
                         2.2.3 ช่วยสนับสนุนเมล็ดไม้ จัดหากล้าไม้ หรือเพาะชำกล้าไม้ไว้แจกจ่ายแก่ ชุมชน
                    
2.2.4ไม่ขัดขวางการปลูกต้นไม้ในท้องถิ่น เช่น ไม่บุกรุกพื้นที่ปลูกต้นไม้ ไม่บุกรุกที่สาธารณะ ไม่ทำลายกล้าไม้และต้นไม้ที่ปลูก เป็นต้น
               2.3 เข้าฟังการประชุม ชี้แจง บรรยายความรู้ หรือฝึกอบรมกิจกรรมการปลูกต้นไม้ ตามโอกาสอันควร

           
3. ช่วยป้องกันไฟป่า
                     
ไฟป่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะเผาไหม้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สัตว์ป่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดและอาจลุกลามเข้าสู่ไร่นา หมู่บ้าน เป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตอีกด้วย
        
ข้อแนะนำในการป้องกันไฟป่า ได้แก่
                
3.1 ไม่จุดไฟเผาป่าเสียเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ของชาติ แล้วยังเป็นการกระทำผิดกฎหมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายป่าไม้และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษหนักอีกด้วย
                  
3.2 ดับไม้ขีดไฟ บุหรี่ หรือกองไฟให้สนิททุกครั้ง
                  
3.3 อย่าจุดไฟเล่นด้วยความคึกคะนอง
                 
3.4 หากมีความจำเป็นต้องก่อกองไฟในป่า เพื่อไล่ยุงหรือไล่สัตว์ หรือก่อแคมป์ไฟ ควรทำในที่โล่ง ไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ใกล้เคียง หรือสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ เมื่อเลิกใช้แล้วต้องดับให้สนิท
                 
3.5 การเผาไร่ เผาฟางข้าว เผาเศษไม้ปลายไม้ ควรกำหนดเผาเป็นจุด  ไม่ควรเผาขณะที่ลมพัดแรง และควรเผาในเวลากลางวันจะสามารถควบคุมไฟได้ง่ายกว่ากลางคืน
             
3.6 แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมไฟป่าทราบทุกครั้งที่จะก่อไฟในป่า หรือใช้ไฟเพื่อการเกษตรกรรม
                 3.7 ให้ความร่วมมือในการป้องกันไฟป่า เช่น ช่วยดับไฟป่า แจ้งข่าวเกิดไฟป่าและสอดส่องดูแลผู้ที่จะทำให้เกิดไฟป่า
             
3.8 เข้ารับฟังการประชุม ชี้แจง บรรยายความรู้ หรือฝึกอบรมด้านป้องกันไฟป่าตามโอกาสอันควร

            4. ช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ด้านป่าไม้
            4.1 นำความรู้ ความเข้าใจด้านป่าไม้ เผยแพร่ พูดคุยกับเพื่อนบ้าน ญาติ พี่น้อง และประชาชนในท้องถิ่นให้เข้าใจประโยชน์ของป่าไม้ และโทษการทำลายป่า เข้าใจงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ แล้วหันมาให้ความร่วมมือในการช่วยกันดูแลรักษาป่าและปลูกต้นไม้ในท้องถิ่นของ
              
4.2 มีส่วนช่วยในการส่งเสริมด้านป่าไม้ เช่น ช่วยเผยแพร่โปสเตอร์ แผ่นภาพ และเอกสารต่าง  และช่วยดูแลรักษาวัสถุเผยแพร่ของทางราชการในหมู่บ้านของตนเอง
            
4.3 ชี้นำ ประสานงาน และร่วมดำเนินการในการจัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์ป่าไม้ เช่น การฝึกอบรม การจัดประชุม ชี้แจง บรรยายความรู้ จัดนิทรรศการแสดงผลงานด้านป่าไม้ ปลูก ต้นไม้และบำรุงรักษาต้นไม้
                4.4 เป็นผู้นำจัดตั้งกลุ่ม ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติในท้องถิ่น
           
4.5 ประสานงานกับหน่วยราชการ เพื่อนำเจ้าหน้าที่ ไปดำเนินการส่งเสริมเผยแพร่ด้านป่าไม้ในท้องถิ่นตามความเหมาะสม

 
 
สรุป
           
เราสามารถช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ได้ด้วยการช่วยกันรักษาป่าในท้องถิ่นของเราที่เหลืออยู่ มิให้ถูกทำลายเพิ่ม แล้วช่วยกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาทดแทนต้นไม้ที่ถูกตัดไปให้มากที่สุด และเร็วที่สุด นอกจากนั้นแล้วยังต้องช่วยกันป้องกันไฟป่า มิให้เผาไหม้ทำลายต้นไม้และชีวิตสัตว์ป่า และยังต้องช่วยกันเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ความรู้ด้านป่าไม้ให้คนในท้องถิ่นได้ตระหนัก ถึงความสำคัญของป่าไม้ ประโยชน์ป่าไม้ และโทษการทำลายป่า ให้เขาเหล่านั้นเข้าใจเรื่องป่าไม้อย่างถูกต้องเข้าใจการ ทำงานของเจ้าหน้าที่ แล้วหันมาให้ความร่วมมือกับท่าน ร่วมมือกับทางราชการในการป้องกันรักษา ป่าและช่วยกันปลูกไม้ในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น  เนื่องจากป่าไม้นั้นให้ประโยชน์และเกี่ยวข้องกับเราทุกคน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ที่จะต้องช่วยกันรักษาป่าไม้



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้  


        ไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมให้แก่ มวลมนุษยชาติ ช่วยควบคุมให้สภาพดินฟ้าอากาศอยู่ในสภาพปกติ รักษาต้นน้ำลำธาร พันธุ์พฤกษชาติ และสัตว์ป่า อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ป่าไม้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้บริโภคใช้สอย ได้ประกอบอาชีพด้านการทำไม้ เก็บของป่า การอุตสาหกรรมไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้ และของป่า แต่สภาพปัจจุบันมีแรงผลักดันให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำการเกษตร ลักลอบตัดไม้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และเผ่าถ่าน นอกจากนี้ การเร่งการดำเนินงานบางโครงการ เช่น การก่อสร้างถนน สร้างเขื่อน ฯลฯ ทำให้มีการตัดไม้ โดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้จึงมีเนื้อที่ลดลงตามลำดับ และบางแห่งอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างมาก   

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้เป็นแนวทางหลักในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ด้วยทรงตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน และการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม  

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าการจัดการทรัพยากรป่าไม้ มีความเกี่ยวโยงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ จึงทรงเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาป่าต้นน้ำเป็นพิเศษ จากแนวพระราชดำริของพระองค์ก่อให้เกิดโครงการพัฒนา และบำรุงป่าไม้จำนวนมากมายทั่วประเทศ โดยเฉพาะป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารให้คงสภาพอยู่เดิม เพื่อป้องกันอุทกภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ถนอมน้ำไว้ใช้สำหรับหล่อเลี้ยงแม่น้ำลำธารด้วย


        พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม มีตัวอย่าง คือ

  1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวมทั้งรูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ที่ทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ โดยไม่ต้องทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ


  2) โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อบำรุงฟื้นฟูป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารให้คงสภาพอยู่เดิม อันจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันอุทกภัย และรักษาสภาพแหล่งต้นน้ำลำธาร  

  3) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ได้ประสบผลสำเร็จอย่างสูงในด้านการลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่า การป้องกันไฟป่า และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยการแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการปลูกป่าที่เรียบง่าย ประหยัด เหมาะสมกับราษฎรที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยการปลูกป่าทดแทนให้ได้ประโยชน์อเนกประสงค์  

  4) โครงการป่าสาธิตส่วนพระองค์ พระตำหนักสวนจิตรลดา เพื่ออนุรักษ์ รวบรวมและขยายพันธุ์พฤกษชาติรวมทั้งพืชสมุนไพร เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรป่าไม้  

  5) โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลนิ ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัด สงขลา มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการพัฒนาชุมชนให้มีความสำนึกในความรู้ความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง เป็นการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลนในอีกมิติหนึ่งของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่อาศัยความเกี่ยวพันและเกื้อกูลซึ่งกันและกันของมนุษย์กับธรรมชาติ  

  6) โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการจัดการและสงวนรักษาทรัพยากรป่าชายเลน มีเจตนารมย์ที่จะให้ทุกฝ่ายมีความรู้ ความเข้าใจของสมดุลระบบนิเวศชายฝั่ง และสร้างความร่วมมือรวมพลังกันระหว่างชุมชนและนักวิชาการที่จะปกปักรักษาและพัฒนาป่าชายเลนให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน  

  7) ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริน อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัด นราธิวาส มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของป่าพรุ อันจะทำให้การพัฒนาพื้นที่พรุเป็นไปอย่างสอดคล้องผสมผสานกันทั้งในเรื่องการอนุรักษ์ และการพัฒนาพื้นที่เขตต่างๆ ในป่าพรุได้ดำเนินการไปพร้อมกันอย่างได้ผลดียิ่ง ทำให้ป่าพรุได้รับการใช้ประโยชน์อย่างอเนกประสงค์ ควบคู่กับการสร้างสมดุลของระบบนิเวศ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น